ก่อนหน้านี้มีข่าวคราวออกมาว่าทางกรมสรรพากรจะออกฎหมายเกี่ยวกับการเรียกเก็บภาษีจากคนขายของออนไลน์ โดยใช้ข้อมูลจากธนาคารที่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ใช้งานอยู่ เมื่อได้ยินข่าวลือแบบนั้น เชื่อว่าพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์คงวิตกกังวลกันน่าดู และแล้วในปี 2563 ก็เป็นจริง ถึงอย่างนั้นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ก็ต้องใจเย็นๆ ไม่มีอะไรน่ากลัวอย่างที่คิด เราขายของออนไลน์ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ได้ทำอะไรเสียหายภาษีขายของออนไลน์ เรียกว่า ภาษีอีเพย์เมนต์ ในวันนี้ทางเราเอง ก็มีสาระที่สำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้มาแชร์
คลิกอ่านเพิ่มเติม :👉 อยากเป็นเจ้าของแบรนด์ ต้องทำอย่างไร
จริงหรือป่าว ? ที่ธนาคารจะส่งข้อมูลให้สรรพากร ตรวจสอบ
จริงหรือป่าว ? ที่ธนาคารจะส่งข้อมูลให้สรรพากร ตรวจสอบเป็นเรื่องจริงที่ธนาคารจะส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรตรวจสอบ จากข่าวลือก่อนหน้านี้กลายเป็นข่าวจริง โดยกรมสรรพากรจะตรวจสอบข้อมูลการโอนเงินเข้าของคุณจาก ธนาคาร สถาบันทางการเงินต่างๆ รวมถึง E-wallet ต่างๆ เงื่อนไขการส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร เราจะกล่าวถึงในหัวข้อถัดไป โดยภาษีอีเพย์เมนต์ เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2562 และได้บังคับใช้ส่งรายงานข้อมูลบัญชีที่มีธุรกรรมพิเศษให้แก่กรมสรรพากรภายในเดือน มีนาคม ปี พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป ในที่นี้สถาบันทางการเงินไม่ต้องนำส่งข้อมูลบัญชีย้อนหลังให้กรมสรรพากร
ข้อแนะนำสำหรับคนขายของออนไลน์ คือ การแยกบัญชีส่วนตัวและบัญชีธุรกิจ อย่าลืมทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย แจกแจงรายละเอียดในแต่ละธุรกรรม ขอใบกำกับภาษีในการซื้อมาขายไปด้วยทุกครั้ง สามารถใช้เป็นหลักฐานเมื่อยื่นภาษีได้ จดทะเบียนพาณิชย์ลิเล็คทรอนิกส์ให้ถูกต้องตามกฎหมาย สิ่งหนึ่งที่สำคัญเลยคือการศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีอีเพย์เมนย์ เพราะการที่คุณรู้ไว้ ก็ยังดีกว่าไม่รู้ ไม่ว่าคุณจะเปิดร้านขายของออนไลน์ขนาดเล็ก ขนาดกลางหรือทำธุรกิจขายของออนไลน์ขนาดใหญ่ ควรศึกษาเรื่องเหล่านี้ไว้บางหรืออาจจะปรึกษาผู้เชี่ยวชาญคนที่มีความรู้มีความเข้าใจสามารถให้คำแนะนำแก่คุณได้
พ่อค้าออนไลน์ แม่ค้าออนไลน์ ที่จะโดนตรวจสอบบัญชี ต้องอยู่ในเงื่อนไงใดบ้าง
1.จำนวนการฝาก/รับโอนเงิน
พ่อค้าออนไลน์ แม่ค้าออนไลน์ ที่จะโดนตรวจสอบบัญชี ต้องอยู่ในเงื่อนไงเมื่อมีเงินโอนเข้าบัญชี 3000 ครั้ง/ปี หรือเฉลี่ย เดือนละ 250 ครั้ง ยอดเงินรวมใบบัญชีจะถูกส่งให้กรมสรรพากรตรวจสอบทั้งหมด
2.จำนวนครั้งการฝาก/รับโอนเงิน
พ่อค้าออนไลน์ แม่ค้าออนไลน์ ที่จะโดนตรวจสอบบัญชี ต้องอยู่ในเงื่อนไงเมื่อมีเงินโอนเข้าบัญชี มากกว่า 400 ครั้งต่อปี และยอดเงินรวมกันมากกว่า 2 ล้านบาทต่อปี กฎหมายจะบังคับใช้เมื่อมีรายการธุรกรรมทางการเงินและจำนวนเงินตรงตามเงื่อนไขทั้งสองข้อ
สิ่งที่คนขายออนไลน์ต้องรู้ ก่อนจะโดนตรวจสอบบัญชี
1.ข้อมูลธุรกรรมทางการเงินของท่านที่จะถูกตรวจสอบเป็นข้อมูลการฝากเข้า และการรับโอนเท่านั้น การโอนออกหรือการถอนจะไม่ถูกนับด้วย
2.กรณีที่มีบัญชีต่างธนาคารแต่เป็นชื่อเดียวกัน ธนาคารแต่ละเจ้าจะตรวจสอบและส่งมอบข้อมูลที่ตรงตามเงื่อนไขภายในธนาคารของตัวเองเท่านั้น
3.การนำส่งข้อมูลในแต่ละธนาคารจะนับแยกกัน หากธนาคารใดมียอดโอน ฝากเข้าตรงกับเงื่อนไขจะต้องนำส่งข้อมูลให้กับทางกรมสรรพากรตรวจสอบ
4.กรมสรรพากรจะได้รับข้อมูล เลขประจำตัวประชาชน หรือเลขนิติบุคคล ชื่อ นามสกุล หรือชื่อนิติบุคคล จำนวนครั้งการฝากหรือรับโอนเงิน ยอดรวมของการรับโอนเงินหรือฝากและเลขบัญชีที่มีการฝากหรือรับโอนเงิน
5.ภาษีอีเพย์เมนต์ เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2562 และได้บังคับใช้ส่งรายงานข้อมูลบัญชีที่มีธุรกรรมพิเศษให้แก่กรมสรรพากรภายในเดือน มีนาคม ปี พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป
หลักเกณฑ์ ในการตรวจสอบมีอะไรบ้าง
1.เงินเข้า 3,000 ครั้ง ต่อปี
กรณีมีการฝากเงินเข้าบัญชีหรือรับโอนตั้งแต่ 3000 ครั้งภายในระยะเวลาภายใน 1 ปี โดยไม่เกี่ยวกับจำนวนเงินจะมีมากน้อยเท่าไหร่ ถ้าคิดเป็นเดือนเฉลี่ย 250 ครั้งต่อเดือน ดังนั้น คนที่โอนยอดเล็กๆ น้อยๆ ต้องระวัง
2.เงินเข้าเกิน 400 ครั้ง/ปี และยอดรวมเกิน 2 ล้านบาท
หากมีเงินเข้าเกิน 400 ครั้ง/ปี และยอดรวมเกิน 2 ล้านบาทจะถูกนำส่งข้อมูลให้กับทางธนาคาร ซึ่งต้องเข้าหลักเกณฑ์หรือเข้าเงื่อนไขทั้งสองอย่าง
ภาษีอีเพย์เมนต์ ไม่ได้มีอะไรน่ากลัวอย่างที่คิดเลย เพียงแค่พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ศึกษาทำความเข้าใจ สิ่งสำคัญเลยคือการเตรียมความพร้อม เตรียมรับมือให้พร้อม จะดีกว่าไหมถ้าเราจดทะเบียนร้านค้าออนไลน์แบบถูกต้องตามกฎหมาย และอย่าลืมทำบัญชีรายรับ รายจ่าย ควรมีหลักฐานที่มาที่ไปให้ชัดเจนมากที่สุด เพราะเมื่อถูกตรวจสอบขึ้นมาจะได้ไม่ยุ่งยาก วุ่นวายภายหลัง
รับสมัครจำนวนจำกัด 🔥
แบรนด์สินค้าสมัครเข้าร่วมเปิดหน้าร้าน รับสิทธิพิเศษมากมายก่อนใคร พร้อมรับสมัครตัวแทนจำหน่ายแบบสต๊อกและไม่สต๊อก
คลิกสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้เลยทันที !